ตะกรุด
เป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังที่ผูกพันกับคติความเชื่อในสังคมไทยมาช้านาน
โดยเฉพาะในการรบทัพจับศึกเข้าสู่สนามรณรงค์สงคราม พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ที่ประทับนั่งเด่นเป็นสง่าอยู่ในมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก
ที่พระรูปขององค์สมเด็จฯ ท่านคล้องไว้ด้วยตะกรุดดอกใหญ่
เรียงเป็นแนวยาวพาดพระอังสะ ในลักษณาการเฉียงลงถึงบั้นพระองค์ มีสายตะกรุด
๑๖ ดอก คล้องเป็นแนวยาวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โบราณเรียกกันว่า
"ตะกรุดโสฬส" พระองค์ท่านสะพาย ๒ เส้น
เป็นหนึ่งในความนิยมประเภทเครื่องรางของพระเกจิอาจารย์แต่ละยุคสมัยคงไว้
ซึ่งความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ดีในทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี
ป้องกันภยันตราย ภัยพิบัติทั้งปวง รวมทั้งด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ
กลับดวง พลิกชะตา เลื่อนยศ ร้ายกลายเป็นดี
บรรดาเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษนิยมสร้างตะกรุด เพื่อป้องกันอันตรายและตะกรุดก็ มีพัฒนาการเรื่อยมาจากดอกใหญ่หนาสำหรับการออกศึกสงคราม ก็ค่อยๆ
ลดขนาดลง หรือใช้วัสดุประเภทไม้สร้าง บางทีก็จัดทำเป็นดอกเล็กๆ
ในลักษณะเครื่องรางติดตัวหรือสามารถตอกตะกรุดฝังเข้าไปในร่างกายได้
ตะกรุดถือเป็นเครื่องรางของขลังชนิด
หนึ่ง ทำด้วยโลหะบ้าง อโลหะบ้าง เช่นแผ่นตะกั่ว แผ่นเงิน แผ่นทอง หรือทองแดง
บางครั้งก็ใช้ไม้ไผ่ หรือกระดูกสัตว์ก็มี เมื่อได้วัสดุตามต้องการแล้ว
ก็จะทำการลงอักขระ หรือผูกเป็นยันต์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นบทสรรเสริญพุทธคุณ
มีความเชื่อที่ว่า ตะกรุดสามารถคุ้มครองผู้ครอบครอง
หรือสร้างความมีเสน่ห์เมตตาให้แก่ผู้พบเห็นได้
ตะกรุดทำมาจาก
วัสดุต่างๆมากมายตามตำราของครูบาอาจารย์แต่ละท่านแต่ที่พบโดยทั่วไปจะเป็น
การนำโลหะแผ่นบางๆ อาจจะเป็น ทองคำ เงิน นาก ตะกั่ว หรือโลหะธาตุผสมอื่นๆ
มาลงอักขระเลขยันต์โดยครูบาอาจารย์
ซึ่งจะใช้เหล็กจารเขียนพระคาถาผูกขึ้นเป็นมงคล ก่อนที่จะม้วนให้เป็นแท่งกลม
โดยมีช่องว่างตรงแกนกลาง สำหรับร้อยเชือกติดตัวไปไหนต่อไหน
อาจนำมาหล่อหลอมรวมกันแล้วทำเป็นตะกรุดหล่อโบราณ ตะกรุดทำจากรางน้ำฝน , ตะกรุดทำจากกาน้ำ , ตะกรุดทำจากใบลาน ตัดเป็นแผ่นก่อนแช่น้ำแล้วนำมาม้วนเป็นทรงกลม ,
ตะกรุดทำจากหนังสัตว์ เช่น ตะกรุดหนังเสือ ,ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ , ตะกรุดหนังงู , ตะกรุดหนังเสือดาว
,ตะกรุดหนังลูกวัวอ่อนตายในท้องแม่ หรือตะกรุดจากกระดูกสัตว์ตะกรุดกระดูกช้าง , ตะกรุดจากเขาวัวเผือก หรือตะกรุดจากไม้มงคลต่างๆ เช่น ตะกรุดไม้ไผ่ ซึ่งมีทั้ง ตะกรุดไผ่ตัน
และ ตะกรุดไผ่รวก ตะกรุดไม้คูณ ตะกรุดไม้ขนุน
ปัจจุบันก็มีรูปแบบตะกรุดแบบใหม่ขึ้นมาโดยตะกรุดทำมาจากปลอกลูกปืน อาศัยนัยยะว่า
แม่ไม่ฆ่าลูก แล้วอาจจะถักด้วยเชือก ด้ายมงคล พอกด้วยผงยา จินดามณี
แล้วนำไปจุ่มหรือชุบรัก ปิดทอง ตามตำรา (ดูภาพเพิ่มเติมที่ http://www.amuletcenter.com/article.php?id=22908〈=th)
ตะกรุดได้ถูกสร้าง โดยอ้างถึงพุทธคุณ ธรรมคุณสังฆคุณ
เพราะหากทำวัตถุบูชาเป็นรูปพระพุทธเจ้าแล้ว หากนำไปในสถานที่ต่างๆ เช่น
สนามรบ อาจจะไม่บังควร โดยอาศัยตัวอักขระ หรือ เลขยันต์
แสดงความหมายที่แตกต่างกันออกไป ตะกรุด หากเป็นดอกเดียว เราเรียกว่า ตะกรุดโทน หากเป็นสองดอกจะเป็น ตะกรุดแฝด หรือเป็นโลหะ 3 ชนิด ที่เรียกว่า
สามกษัตริย์ หาก 16 ดอก เรียกตะกรุดโสฬส
ตะกรุดต่างๆส่วนใหญ่ที่เป็นโลหะ จะมีความเชื่อที่แตกแขนงออกไปอีก
อาทิเช่น ถ้าเป็นตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้าน เมตตา มักจะทำโดยใช้
แผ่นทอง หรือแผ่นเงิน ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางคงกระพัน
จะใช้แผ่นทองแดง ตะกรุดที่ต้องการให้เกิดผลทางด้านแคล้วคลาด
มักจะใช้แผ่นตะกั่ว เป็นต้น
ตะกรุดใช้บูชามีอยู่ 3 แบบ คือ ใช้แขวนคอ ใช้คาดเอว และผูกข้อมือ
โดยดอกตะกรุดจะขนานกันไปในแนวนอน